Park Silom

SOCIAL

ไม่เคย

DISTANCING

ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมที่ไม่เคยห่างกันที่บ้านหลังนี้

บ้าน “สิวะดล” สำหรับคนทั่วไปอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก แต่สำหรับคนชุมชนสีลม ชื่อนี้ถือว่าเป็นชื่อบ้านแห่งความทรงจำที่หลายคนไม่เคยลืมได้ เพราะบ้านหลังนี้คือบ้านที่เชื่อมโยงความสุข ความน่ารัก
ความมีน้ำใจ ของคนในบ้านกับคนในชุมชนแบบไม่เคยจะห่างกัน

ความไม่เคยจะห่างกันของบ้านหลังนี้เกิดขึ้นจาก “น้ำใจ”
ย้อนกลับไปในปี 2465 ที่ดินผืนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในละแวกถนนคอนแวนต์ได้เริ่มมีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ที่มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างจากอาคารบ้านเรือนในสมัยนั้นจนกลายเป็นที่น่าสนใจ โดยเจ้าของผู้ครอบครอง ที่ดินผืนนี้ก็คือ นายคงเหลียน สีบุญเรือง และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับคุณยายเพ็ชร ผู้เป็นพี่สาว ซึ่งได้รับ การซื้อต่อมากจากพระยาราชนุกูล ข้าราชการผู้ใหญ่ในสมัยนั้น

บ้านหลังนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในรูปแบบแปลกตา เป็นบ้านทรงร่วมสมัยหลังใหญ่ มีห้องเพื่อรองรับสมาชิกในบ้านกว่า 20 คน โดยใช้ช่างไม้ฝีมือดีของไทยและช่างตกแต่งจากเซี่ยงไฮ้ มีหน้าต่างทั่วบ้านเพื่อเปิดรับลมและแสงธรรมชาติได้ตลอดเวลา และที่สำคัญไม่ใช่แค่เปิดรับลม แต่ประตูรั้วของบ้านก็เปิดต้อนรับผู้คนในชุมชนสีลมตลอดเวลาเช่นกัน

“ประตูรั้วเปิดตลอดเวลา เพื่อวางโอ่งข้าวสารหน้าบ้าน ใครใคร่ตักตัก” นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับบ้านหลังนี้ โดยคุณยายแก้ว ภรรยาของนายคงเหลียนเจ้าของบ้าน คุณยายแก้วคือผู้เป็นศูนย์รวมของบ้าน และศูนย์รวมของน้ำใจที่พร้อมมอบให้สู่สังคมและเพื่อนบ้าน คุณยายแก้วจะสั่งให้คนในบ้านวางโอ่งใส่ข้าวสารตั้งไว้หน้าบ้าน ใครเดินผ่านไปผ่านมาก็สามารถตักข้าวสารไปหุงบ้านตนเองได้ ถ้าหากข้าวสารหมด คุณยายแก้วก็ให้คนออกมาเติม และยังสอนลูกหลานเสมอว่าเราจะมีเพื่อนถ้าเรานับเพื่อน เราจะมีญาติถ้าเรานับญาติ เพราะทุกคนเราให้ได้เราจงให้

หากวันนี้วิกฤตทางสังคมทำให้เราหลายคนต้องห่างกัน แต่สิ่งที่บ้านสิวะดลหลังนี้ได้สะท้อนให้เราเห็นก็คือความน่ารักของน้ำใจ ที่ไม่ว่าระยะห่างใดใดก็คงไม่สามารถกั้นให้ห่างได้ และแม้บ้านหลังนี้ได้แปรเปลี่ยนไปแล้วในปัจจุบัน และกำลังจะได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น รองรับผู้คนได้มากขึ้นแต่สิ่งที่ยังคงอยู่และจะยังอยู่ตลอดไป นั่นก็คือ เจตนารมณ์ของผู้ให้กำเนิดที่ดินนี้ ที่จะสร้าง “การให้”แก่สังคมและชุมชนอย่างโอบอ้อมอารี ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในวันนี้จึงไม่ใช่เพียงการสร้างสิ่งใหม่แต่เป็นการพัฒนาไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้ง “คุณค่า” ของผืนดินเดิมโดยมีเป้าหมายคือประโยชน์สูงสุดของผู้คน

SOCIAL

ไม่เคย

DISTANCING

ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมที่ไม่เคยห่างกันที่บ้านหลังนี้

บ้าน “สิวะดล” สำหรับคนทั่วไปอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก 
แต่สำหรับคนชุมชน สีลมชื่อนี้ถือว่าเป็นชื่อบ้านแห่งความทรงจำที่หลายคนไม่เคยลืมได้เพราะบ้านหลังนี้คือบ้านที่เชื่อมโยงความสุขความน่ารักความมีน้ำใจของคนในบ้านกับคนในชุมชนแบบไม่เคยจะห่างกัน

ความไม่เคยจะห่างกันของบ้านหลังนี้เกิดขึ้นจาก “น้ำใจ”

ย้อนกลับไปในปี 2465 ที่ดินผืนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในละแวกถนนคอนแวนต์
ได้เริ่มมีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยที่มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างจากอาคาร
บ้านเรือนในสมัยนั้นจนกลายเป็นที่น่าสนใจ โดยเจ้าของผู้ครอบครอง
ที่ดินผืนนี้ก็คือนายคงเหลียน สีบุญเรือง และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ
คุณยายเพ็ชร ผู้เป็นพี่สาว ซึ่งได้รับการซื้อต่อมากจากพระยาราชนุกูล
ข้าราชการผู้ใหญ่ในสมัยนั้น

บ้านหลังนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในรูปแบบแปลกตา เป็นบ้านทรงร่วมสมัย
หลังใหญ่มีห้องเพื่อรองรับสมาชิกในบ้านกว่า 20 คนโดยใช้ช่างไม้ฝีมือดี
ของไทยและช่างตกแต่งจากเซี่ยงไฮ้ มีหน้าต่างทั่วบ้าน เพื่อเปิดรับลม
และแสงธรรมชาติได้ตลอดเวลาและที่สำคัญไม่ใช่แค่เปิดรับลมแต่ประตูรั้ว
ของบ้านก็เปิดต้อนรับผู้คนในชุมชนสีลมตลอดเวลาเช่นกัน

นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับบ้านหลังนี้ โดยคุณยายแก้ว ภรรยาของ
นายคงเหลียนเจ้าของบ้าน คุณยายแก้วคือผู้เป็นศูนย์รวมของบ้าน
และศูนย์รวมของน้ำใจที่พร้อมมอบให้สู่สังคมและเพื่อนบ้าน คุณยายแก้ว
จะสั่งให้คนในบ้านวางโอ่งใส่ข้าวสารตั้งไว้หน้าบ้าน ใครเดิผ่านไปผ่านมา
ก็สามารถตักข้าวสารไปหุงบ้านตนเองได้ ถ้าหากข้าวสารหมดคุณยายแก้ว
ก็ให้คนออกมาเติม และยังสอนลูกหลานเสมอว่าเราจะมีเพื่อนถ้าเรา
นับเพื่อนเราจะมีญาติถ้าเรานับญาติ เพราะทกุคนเราให้ได้เราจงให้

หากวันนี้วิกฤตทางสังคมทำให้เราหลายคนต้องห่างกัน แต่สิ่งที่บ้าน
สิวะดลหลังนี้ได้สะท้อนให้เราเห็นก็คือความน่ารักของน้ำใจ ที่ไม่ว่าระยะ
ห่างใดใดก็คงไม่สามารถกั้นให้ห่างได้ และแม้บ้านหลังนี้ได้แปรเปลี่ยน
ไปแล้วในปัจจุบันแะกำลังจะได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น
รองรับผู้คนได้มากขึ้น แต่สิ่งที่ยังคงอยู่และจะอยู่ตลอดไป นั่นก็คือ
เจตนารมณ์ของผู้ให้กำเนิดที่ดินนี้ ที่จะสร้าง “การให้” แก่สังคม
และชุมชนอย่างโอบอ้อมอารี ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในวันนี้จึงไม่ใช่
เพียงการสร้างสิ่งใหม่แต่เป็นการพัฒนาไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้ง “คุณค่า”
ขอผืนดินเดิมโดยมีเป้าหมายคือประโยชน์สูงสุดของผู้คน