Park Silom

Once upon a time of Silom
: กาลครั้งหนึ่งของ “สีลม”

“เรื่องใหม่จะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่มีเรื่องเก่าเป็นตำนาน”

ลองนึกภาพ “สีลม” ย้อนกลับไปประมาณร้อยกว่าปี แน่นอนว่าหลายคนคงนึกภาพไม่ออกแน่

      วันนี้เราจึงจะพาทุกคนมาย้อนรอยกลับไปในวันที่ย่านสีลมแหล่งของผู้คนที่ไม่เคยหลับใหลแห่งนี้ ในสมัยที่ยังเป็น “ทุ่งนา”

      ทุ่งนาของสีลมในสมัยก่อนประมาณปี พ.ศ. 2350-2400 คือพื้นที่โล่งมีท้องนา คลอง และชาวบ้านที่ทำเกษตรกรรมทั้งทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ จนเมื่อในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการพัฒนาพื้นที่ชุมชนแห่งนี้ให้ได้มี “ถนน” ตามคำร้องของกลุ่มพ่อค้า และกงสุลต่างประเทศเพื่อให้มีเส้นทางขี่ม้าตากอากาศ และตั้งชื่อให้ถนนเส้นนี้ว่า “ถนนขวาง” เพราะสร้างขึ้นมาตัดขวางลำคลองแถวนั้น โดยมีความยาว 68 เส้น 16 วา 5 ศอก และถนนขวางนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของตำนานความหลากลายทั้งทางเชื้อชาติ สังคมและวัฒนธรรม เพราะหลังจากถนนเส้นนี้สร้างเสร็จก็เกิดการสัญจรระหว่างผู้คน มีการแลกเปลี่ยนสินค้า และมองเห็นภาพผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขี่ม้า ลากเกวียน ขายของ รวมถึงอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นที่มา ของชื่อชุมชนแห่งนี้จนถึงปัจจุบันนั่นก็คือ “การสีลม”

“เรื่องใหม่จะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่มีเรื่องเก่าเป็นตำนาน”

      คือรูปเครื่องสีลมที่จากประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยนั้นมีชาวฝรั่งเข้ามาตั้งเครื่องสีลมริมถนนเพื่อวิดน้ำไปใช้อย่างมากมาย เพราะถนนถูกสร้างขึ้นขวางลำคลองทำให้มีพื้นที่แหล่งน้ำเพียงพอ และเมื่อใครผ่านไปผ่านมาก็จะเห็นเครื่องสีลมเหล่านี้โดดเด่นด้วยสีสันที่หลากหลาย จึงทำให้ถูกเรียกเป็นชื่อต่อกันมาว่า “ถนนสีลม” หรือ “ชุมชนสีลม” มาจนถึงปัจจุบัน

“เรื่องใหม่จะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่มีเรื่องเก่าเป็นตำนาน”

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะคิดและนึกภาพว่า สีลมในปัจจุบันช่างแตกต่างจากอดีตมาก เพราะเราแทบไม่เห็นพื้นที่เกษตรกรรมหลงเหลือ และการเลี้ยงสัตว์ทำสวนรวมถึงกิจกรรมแบบเดิมของผู้คนต่างก็หายไป เปลี่ยนภาพลักษณ์กลายเป็นแหล่งศูนย์กลางทางคมนาคมและธุรกิจชั้นนำแทน แต่หากเรามองให้ดี เราจะเห็นว่าที่จริงแล้วกลิ่นอายเหล่านี้ไม่ได้หายไปเลย แต่กลับสะท้อนมาในรูปแบบของการใช้ชีวิตของผู้คนบนพื้นที่ที่พัฒนาขึ้น เนื่องจากสีลมในอดีตคือแหล่งที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม นี่คือหนึ่งแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของย่านนี้จึงมีมาตั้งแต่สมัยอดีต จนทำให้ในปัจจุบัน “สีลม” คือหนึ่งในทางเลือกของการลงทุนทางเศรษฐกิจจากบริษัทต่างชาติไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ของไทยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ที่ดินเดิมของพระยาราชนุกูลและนายคงเหลียน สีบุญเรือง ซึ่งอยู่ปากซอยคอนแวนต์ในปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนจากที่พักอาศัยให้กลายเป็นอาคารสำนักงานนำเข้า และส่งออกสินค้าต่างประเทศ จนประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบันในชื่ออาคารว่า “อาคารสีบุญเรือง” แต่คงไม่ใช่แค่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเท่านั้น ความพัฒนาอย่างต่อเนื่องของที่ดินย่านนี้ ก็เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความเจริญในทุกด้านเช่นกัน ทั้งการคมนาคมที่รองรับการโดยสารสาธารณะทุกเส้นทางทั้ง BTS, MRT รถด่วนพิเศษ BRT และยังมีท่าเรือเชื่อมต่อสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 

และยังไม่รวมกับถนนหนทางที่สามารถลัดเลาะไปยังถนนเส้นอื่น เช่นถนนเจริญกรุง ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนคอนแวนต์ ไปจนถนนพระรามที่ 4 ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังศูนย์กลางของเมืองอย่างสยามได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีครบทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น อาคารสำนักงานชั้นนำ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา โรงพยาบาล สถาบันบริการทางการเงิน และพื้นที่สาธารณะต่างๆ จนทำให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเล็งเห็นโอกาสในการลงทุนกับทำเลนี้มากมายและเกิดเป็นโครงการระดับไฮเอนด์เป็นจำนวนมาก และในทุกความครบครันเช่นนี้ของสีลม ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องขอบคุณกลิ่นอายของอดีต ที่หล่อหลอมให้สีลมยังคงเป็นพื้นที่ที่มีชีวิต และสร้างความเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าในปัจจุบัน

Once upon a time of Silom : กาลครั้งหนึ่งของ "สีลม"

“เรื่องใหม่จะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่มีเรื่องเก่าเป็นตำนาน”

ลองนึกภาพ “สีลม” ย้อนกลับไปประมาณร้อยกว่าปี แน่นอนว่าหลายคนคงนึกภาพไม่ออกแน่
วันนี้เราจึงจะพาทุกคนมาย้อนรอยกลับไปในวันที่ย่านสีลมแหล่งของผู้คนที่ไม่เคยหลับใหล
แห่งนี้ ในสมัยที่ยังเป็น “ทุ่งนา” ทุ่งนาของสีลมในสมัยก่อนประมาณปีพ.ศ. 2350-2400 คือพื้นที่
โล่งมีท้องนา คลองและชาวบ้านที่ทำเกษตรกรรมทั้งทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ จนเมื่อในสมัย
รัชกาลที่ 4เริ่มมีการพัฒนาพื้นที่ชุมชนแห่งนี้ให้ได้มี “ถนน” ตามคำร้องของกลุ่มพ่อค้าและกงสุล
ต่างประเทศเพื่อให้มีเส้นทางขี่ม้าตากอากาศ และตั้งชื่อให้ถนนเส้นนี้ว่า “ถนนขวาง” เพราะสร้าง
ขึ้นมาตัดขวางลำคลองแถวนั้น โดยมีความยาว 68 เส้น 16 วา 5 ศอก และถนนขวางนี้เองที่เป็น
จุดเริ่มต้นของตำนานความหลากลายทั้งทางเชื้อชาติ สังคมและวัฒนธรรม เพราะหลังจากถนน
เส้นนี้สร้างเสร็จก็เกิดการสัญจรระหว่างผู้คน มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและมองเห็นภาพผู้คน
หลากหลายเชื้อชาติทำกิจกรรมต่างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขี่ม้า ลากเกวียน ขายของ รวมถึงอีกหนึ่ง
สิ่งที่เป็นที่มา ของชื่อชุมชนแห่งนี้จนถึงปัจจุบันนั่นก็คือ “การสีลม”

“เรื่องใหม่จะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่มีเรื่องเก่าเป็นตำนาน”

คือรูปเครื่องสีลมที่จากประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยนั้นมีชาวฝรั่งเข้ามาตั้งเครื่องสีลมริมถนนเพื่อวิดน้ำไปใช้อย่างมากมาย เพราะถนนถูกสร้างขึ้นขวางลำคลองทำให้มีพื้นที่แหล่งน้ำเพียงพอ และเมื่อใครผ่านไปผ่านมาก็จะเห็นเครื่องสีลมเหล่านี้โดดเด่นด้วยสีสันที่หลากหลาย จึงทำให้ถูกเรียกเป็นชื่อต่อกันมาว่า “ถนนสีลม” หรือ “ชุมชนสีลม” มาจนถึงปัจจุบัน

“เรื่องใหม่จะเกิดได้อย่างไร ถ้าไม่มีเรื่องเก่าเป็นตำนาน”

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะคิดและนึกภาพว่า สีลมในปัจจุบันช่างแตกต่างจากอดีตมาก เพราะเราแทบไม่เห็นพื้นที่เกษตรกรรมหลงเหลือ และการเลี้ยงสัตว์ทำสวนรวมถึงกิจกรรมแบบเดิมของผู้คนต่างก็หายไป เปลี่ยนภาพลักษณ์กลายเป็นแหล่งศูนย์กลางทางคมนาคมและธุรกิจชั้นนำ แทนแต่หากเรามองให้ดี เราจะเห็นว่าที่จริงแล้วกลิ่นอายเหล่านี้ไม่ได้หายไปเลย แต่กลับสะท้อนมาในรูปแบบของการใช้ชีวิตของผู้คนบนพื้นที่ที่พัฒนาขึ้น เนื่องจากสีลมในอดีตคือแหล่งที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม นี่คือหนึ่งแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของย่านนี้จึงมีมาตั้งแต่สมัยอดีต จนทำให้ในปัจจุบัน “สีลม” คือหนึ่งในทางเลือกของ
การลงทุนทางเศรษฐกิจจากบริษัทต่างชาติไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ของไทยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ที่ดินเดิมของพระยาราชนุกูลและนายคงเหลียน สีบุญเรือง ซึ่งอยู่ปากซอยคอนแวนต์ในปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนจากที่พักอาศัยให้กลายเป็นอาคารสำนักงานนำเข้าและส่งออกสินค้าต่างประเทศ จนประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบันในชื่ออาคารว่า “อาคารสีบุญเรือง”

แต่คงไม่ใช่แค่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเท่านั้น ความพัฒนาอย่างต่อเนื่องของที่ดินย่านนี้ก็เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความเจริญในทุกด้านเช่นกัน ทั้งการคมนาคมที่รองรับการโดยสารสาธารณะ ทุกเส้นทางทั้ง BTS, MRT รถด่วนพิเศษ BRT และยังมีท่าเรือเชื่อมต่อสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

และยังไม่รวมกับถนนหนทางที่สามารถลัดเลาะไปยังถนนเส้นอื่น เช่นถนนเจริญกรุง ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนคอนแวนต์ ไปจนถนนพระรามที่ 4 ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังศูนย์กลางของเมืองอย่างสยามได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีครบทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น อาคารสำนักงานชั้นนำ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา โรงพยาบาล สถาบันบริการทางการเงิน และพื้นที่สาธารณะต่างๆ จนทำให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเล็งเห็นโอกาสในการลงทุนกับทำเลนี้มากมายและเกิดเป็นโครงการระดับไฮเอนด์เป็นจำนวนมาก และในทุกความครบครันเช่นนี้ของสีลม ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องขอบคุณกลิ่นอายของอดีต ที่หล่อหลอมให้สีลมยังคงเป็นพื้นที่ที่มีชีวิต และสร้างความเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าในปัจจุบัน